Vendor Sprawl คืออะไร?
เมื่อธุรกิจมีจำนวนซอฟต์แวร์แอพพลิเคชั่นกระจายอยู่แบบไซโลเป็นจำนวนมาก ก็อาจทำให้ความคล่องตัวลดลงได้ ต่อไปนี้คือวิธีกระชับการดำเนินการของคุณ
มุมมอง 360 องศา
จาก รายงานผลประกอบการระบบเชื่อมต่อ ของ MuleSoft ประจำปี 2023 โดยเฉลี่ยบริษัทระดับองค์กรมีการใช้งานแอพพลิเคชั่นในแต่ละแผนกมากกว่า 1,000 แอพฯ โดยส่วนใหญ่มักเป็นแบบไซโล สิ่งนี้รู้จักกันในชื่อ vendor sprawl หรือการแผ่ขยายตัวของผู้ให้บริการ ซึ่งหากเรามองข้ามปัญหาดังกล่าวอาจก่อให้เกิดความเสียหายถึงหลักล้านบาทต่อบริษัทและนำไปสู่ปัญหาขาดความคล่องตัวเพิ่มมากขึ้น
สิ่งนี้ส่งผลกับทีมของคุณอย่างไร?
ปัจจุบันการมีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้ามากกว่า 70% เป็นแบบดิจิทัล สร้างความกดดันให้กับองค์กรในการมอบประสบการณ์การใช้งานที่มีความเชื่อมต่อยิ่งขึ้น Vendor sprawl อาจทำให้สูญเสียทั้งรายได้, เวลา, เพิ่มปริมาณงานให้กับฝ่ายไอที และปัญหาอื่นๆ มากมายตามมา
สิ่งที่คุณต้องทำ
- พิจารณาว่าคุณมีจำนวนแอพพลิเคชั่นทำงานพร้อมกันมากเกินไปจนขาดความคล่องตัวหรือไม่
- รันโปรแกรมตรวจสอบแอป
- ทำให้เกิดความโปร่งใสระหว่างแผนกและแบ่งปันข้อมูลซึ่งกันและกัน
- จำกัดค่าใช้จ่ายไว้กับผู้ให้บริการรายเดียวหรือเพียงไม่กี่รายเท่านั้น
- สื่อสารกับผู้ขายของคุณและทำการรีวิวชุดเทคโนโลยีที่ใช้ 1-2 ครั้งต่อปี
อะไรคือ Vendor Sprawl และทำไมมันจึงเป็นปัญหา?
ไม่ว่าธุรกิจใดก็ตามที่มีการใช้งานเทคโนโลยี คุณจะสังเกตได้ว่าองค์กรส่วนใหญ่ใช้แอพพลิเคชั่นจำนวนมาก โดยเฉลี่ยมากกว่า 1,000 แอปเลยทีเดียว
แล้วอะไรคือ Vendor Sprawl? สิ่งนี้เกิดขึ้นเมื่อธุรกิจมีการใช้งานซอฟต์แวร์แอพพลิเคชั่นซ้ำซ้อนกันในแผนกต่างๆ ทำให้ขาดความคล่องตัว และอาจเป็นสาเหตุของ Tech Bloat ตัวการร้ายที่จะขัดขวางการทำงานของเทคโนโลยี เพิ่มต้นทุน และทำให้ประสบการณ์การใช้งานดิจิทัลของคุณไม่ลื่นไหลเท่าที่ควร
“ความพยายามที่ซ้ำซ้อนเกิดขึ้นมาจากหลายทางด้วยกัน” Charlie Isaacs รองประธานและประธานเจ้าหน้าที่ด้านเทคนิคด้านลูกค้าสัมพันธ์ของ Salesforce กล่าวว่า “ ความซ้ำซ้อนนั้นเกิดจากทุกขั้นตอน ตั้งแต่การต่อรองข้อตกลงกับผู้ให้บริการหลายๆ เจ้า โดยแต่ละเจ้าก็ต้องใช้ Integration ที่เหมาะสมแตกต่างกัน”
ผลก็คือมีแอพพลิเคชั่นจำนวนมากเกินไปและระบบที่ไม่เพียงทำงานด้วยกันไม่ได้เท่านั้น แต่บางครั้งยังทำงานขัดกันเองอีกด้วย
“ระบบเหล่านี้ส่วนใหญ่มีการเชื่อมต่อกันอย่างไร้ประสิทธิภาพ” Vala Afshar หัวหน้าผู้เผยแพร่วัฒนธรรมองค์กรดิจิทัลของ Salesforce เขียนไว้เมื่อไม่นานมานี้ โดยอ้างอิงจากรายงานของ MuleSoft ว่า “ในรายงานเดียวกันนี้แสดงให้เห็นถึงผลกระทบจากข้อมูลแบบไซโลว่าเป็นอุปสรรคต่อการสร้างประสบการณ์ลูกค้าแบบบูรณาการถึง 90% ขององค์กร”
ใช้การรวมผู้ให้บริการเพื่อประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย
ไม่ว่าแนวโน้มเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไร เครื่องมือเทคโนโลยีในบริษัทยังคงต้องใช้งบประมาณจำนวนมากอยู่เหมือนเดิม ในความเป็นจริง มีการลงทุนในไอทีเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยถึง 300 ล้านบาท ถ้าแต่ละแผนกมีการดำเนินการแบบแยกส่วน และขาดการสื่อสารซึ่งกัน ระบบก็อาจถูกทำสำเนาเพิ่มและเกิดเป็นความซ้ำซ้อนขึ้นได้ กุญแจสำคัญของการแก้ปัญหานี้ คือ การดึงคนจากแผนกต่างๆ มาปรึกษากันว่าแต่ละแผนกกำลังใช้งานอะไรอยู่ มีอะไรบ้างที่คาบเกี่ยวกัน และทำการรวมระบบเท่าที่ทำได้
“มีเปอร์เซ็นต์ผู้ประสบปัญหา Vendor Sprawl อยู่เป็นจำนวนมาก ในบางกรณีเขาเองอาจไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่ากำลังเจอกับ vendor sprawl หรือ ปัญหาความทับซ้อนกันอยู่” Isaacs กล่าว “พวกเขาทำวงจรการดำเนินงานซ้ำๆ ขึ้นมาในผลิตภัณฑ์ตัวเดียว หรือไม่ก็เลียนแบบส่วนหนึ่งส่วนใดของวงจรการดำเนินการเดิมกับผู้ให้บริการคนใหม่ ทีนี้ฉันจะจัดการกับอะไรก่อนดี แล้วใครจะเข้ามากำหนดกฎเกณฑ์พวกนี้?”
ตรงจุดนี้เองที่การรวมผู้ให้บริการจะเข้ามาช่วยให้บริษัทสามารถมองเห็นภาพรวมของทุกสิ่งที่เขาลงทุนไปกับการติดตั้งตลอดทั่วทุกแผนก จากข้อมูลของทีมข้ามสายงานของ Salesforce ที่ทำงานเกี่ยวกับการรวมผู้ให้บริการ โดยการติดตั้งจะช่วยในเรื่องดังต่อไปนี้ :
- ลดค่าใช้จ่ายโดยระบุแอปรุ่นเก่าที่ขาดการใช้งานเชิงกลยุทธ์เพื่อการจัดสรรเวลา และทรัพยากรที่ดีกว่าเดิม เงินที่ลูกค้าใช้จ่ายเพื่อการรักษาและสนับสนุนแอปเหล่านี้จะสามารถนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์มากขึ้น
- เพิ่มศักยภาพโดยการประเมินว่าผลิตภัณฑ์ไหนมอบสิ่งที่ธุรกิจต้องการได้มากที่สุด เช่น ลูกค้าอาจมีแอปถึง 3-4 ตัวทำงานในสิ่งที่ผลิตภัณฑ์เพียงตัวเดียวก็ทำได้
- เพิ่มผลผลิตโดยการลดความติดขัด, เพิ่มความยืดหยุ่น, ลดทอนสิ่งที่ต้องใช้สนับสนุน, ผลักดันให้เกิดการพัฒนา, และส่งเสริมความคล่องตัวของการดำเนินงานด้วยโซลูชั่นเดียว
- ปกป้องความเป็นส่วนตัวโดยการจัดทำคลังแอปขึ้น ลูกค้าจะสามารถปรับปรุงกฎเกณฑ์ต่างๆตามมาตรฐานความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัย บริษัทที่มีข้อมูลลูกค้ากระจายตัวอยู่ในหลายๆ แอปมักเกิดปัญหายุ่งยากในการปฏิบัติตามกฎหมายต่างๆ ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลเสียมูลค่ามหาศาลตามมาได้
ความรับผิดชอบในการแก้ปัญหาดังกล่าวไม่ควรตกอยู่กับแผนก CIO, CTO, หรือไอทีเพียงเท่านั้น แต่เป็นกระบวนการที่ควรต้องร่วมมือกับทุกแผนกเพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกัน คลิกที่นี่เพื่อติดต่อทีมของเรา